วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550

R = Q x A ผลสัมฤทธิ์ของการแก้ปัญหา

ผมได้อ่านหนังสือ What is Six Sigma Process Management? ซึ่งเขียนโดย Rowland Hayler และ Michael Nichols เมื่อปี ค.ศ.2005 แปลโดย ดร.ไพโรจน์ บาลัน มีตอนหนึ่งในหน้า 50 กล่าวถึงสมการง่ายๆ เกี่ยวกับการวัดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ปัญหา ซึ่งน่าสนใจ จึงได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สมการง่ายๆ ที่ Hayler เขียนไว้ มีดังนี้

R = Q X A

สมการนี้อธิบายได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ (R : Results) เท่ากับ ผลคูณของ คุณภาพของการแก้ปัญหาของเรา (Q : Quality of Our Solution) คูณด้วย การยอมรับ ( A : Acceptance)

การใช้สมการผลสัมฤทธิ์นี้ อธิบายได้ตามตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 หากเรามีวิธีการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยให้คะแนนเต็มสิบ (Q=10) แต่วิธีการแก้ปัญหาของเราได้รับการยอมรับจากคนในองค์กรน้อยมาก โดยให้คะแนนหนึ่งจากสิบ (A=1) ผลสัมฤทธิ์ ก็จะได้ดังนี้

R = Q x A = 10 x 1 = 10


ตัวอย่างที่ 2 ในทางกลับกัน หากวิธีการแก้ปัญหาของเราอาจมีคุณภาพไม่ดีนัก โดยให้คะแนนแปดจากสิบคะแนน (Q=8) แต่วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นที่ยอมรับจากคนในองค์กรมาก โดยให้คะแนนห้าจากสิบ (A=5) ผลสัมฤทธิ์ ก็จะได้ดังนี้

R = Q x A = 8 x 5 = 40

ด้านเศรษฐกิจ : รัฐบาลคิดวิธีการจัดการแก้ปัญหาที่คิดว่ามีคุณภาพ ในการจัดการปัญหาห้างค้าปลีกข้ามชาติบุกประเทศไทย ส่งผลให้ร้านโชห่วยกำลังจะล่มสลาย แต่วิธีที่รัฐบาลคิดนั้น ได้รับการยอมรับจากบรรดาเจ้าของร้านโชห่วย มากน้อยแค่ไหน? (ถ้าทราบ...ลองคูณกันดู)

ด้านสังคม : กระทรวงวัฒนธรรม คิดวิธีการแก้ไขปัญหาที่คิดว่ามีคุณภาพ เพื่อให้เด็กและเยาวชนของไทย หันมานิยมไทย ใช้ของไทย รักภาษาไทย รักประเพณีวัฒนธรรมไทย ภูมิใจในความเป็นไทย แต่วิธีการนั้น เด็กและเยาวชนไทยให้การยอมรับมากน้อยขนาดไหน ? (ถ้าทราบ...ลองคูณกันดู)

ตัวอย่างที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่นำมาเขียน จริงๆ แล้วยังมี โครงการ แผนงาน แนวทาง กิจกรรม อีกมากมาย ที่ถูกคิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น ที่ข้าราชการ นักการเมือง หรือผู้รู้ คิดขึ้นภายใต้งบประมาณของแผ่นดิน ซึ่งเขาเหล่านั้นคาดหวังว่ามันจะสัมฤทธิ์ผลตามที่คิดไว้

จากตัวอย่างทั้งสองจะเห็นได้ว่า “แม้ว่าวิธีการแก้ปัญหาของเราจะมีคุณภาพน้อย แต่ได้รับการยอมรับจากคนภายในองค์กรมาก ค่าของผลสัมฤทธิ์จะสูงกว่า การมีวิธีการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพมาก แต่ได้รับการยอมรับจากคนในองค์กรน้อย”


หากเราเข้าใจสมการดังกล่าวแล้ว ลองกลับมามองดูการบริหารจัดการบ้านเมืองของประเทศไทยเรา แล้วนำมาลองเทียบเคียงดู อาทิ

ด้านการเมือง : รัฐบาลเชื่อว่า วิธีการแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธ์ขายเสียงของประชาชนคนไทยในการเลือกตั้ง ที่คิดขึ้นเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพที่สุด แต่รัฐบาลทราบหรือไม่ว่า วิธีการนั้นได้การยอมรับจากประชาชนมากน้อยแค่ไหน? (ถ้าทราบ...ลองคูณกันดู)

ด้านการศึกษา : นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และบรรดานักวิชาการการศึกษาทั้งหลายฯ เชื่อว่า วิธีการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทยที่เขาคิด เป็นวิธีการที่มีคุณภาพ แต่เขาเคยคิดหรือไม่ว่าวิธีการนั้นได้รับการยอมรับจากครู อาจารย์ และนักบริหารการศึกษา มากน้อยแค่ไหน? (ถ้าทราบ...ลองคูณกันดู)


พวกเรามักคิดเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอว่า วิธีการแก้ปัญหาที่เราคิดขึ้นเป็นวิธีการที่ดีมีคุณภาพ เปรียบเสมือนการให้คะแนน Q =10 แต่พวกเรามักจะลืมให้คะแนนเรื่องการยอมรับของประชาชน คือ A ซึ่งอาจจะเท่ากับศูนย์ก็ได้ หากเป็นดังนั้นจริง ค่าของ ผลสัมฤทธิ์ ที่ได้ ก็คือ R = Q x A = 10 x 0 = 0 (ศูนย์)
___________

อ้างอิง

ไพโรจน์ บายัน.(2549).การจัดการกระบวนการตามหลัก Six Sigma. แปลจาก Rowland Hayler and
Michael Nichols.(2005).What is Six Sigma Process Management?. กรุงเทพฯ:อี.ไอ.สแควร์
พับลิซซิ่ง.

3 ความคิดเห็น:

thai-diy กล่าวว่า...

เสธ ช่างเอาประเด็นการเมืองมาเข้ากับ Six Sigma จนได้ เหมาะกับวัน เวลานี้เหลือเกิน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เขียนได้น่าขบคิดทีเดียว

thai-diy กล่าวว่า...

เมื่อไหร่จะ update เรื่องใหม่ละครับ คอยอ่านอยู่นะ