วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

นิทานเรื่องที่ 9 Superman ตายไปหมดแล้ว

ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
ที่มาของภาพ
http://th.wikipedia.org/
ผมได้อ่านบทความ "เล่านิทาน สร้างเมืองไทยให้น่าอยู่" ของ ท่านยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือ "สร้างเมืองไทยให้น่าอยู่ใน 999 วัน"  โดยสำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย และมี ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นบรรณาธิการ 

ท่านยอดเยี่ยมฯ เขียนขึ้นต้นว่า ท่านเป็นสถาปนิกที่รักความเป็น "ครู" เพราะการเป็นครูทำให้ท่านมีความสุข ในนิทานเรื่องที่ 9 เรื่อง Superman ตายไปหมดแล้ว ท่านบอกว่าเป็นการเล่านิทานให้นักเรียนของท่านฟัง ซึ่งมีหลายตอนที่ผมอ่านแล้วรู้สึกน่าจะนำมาถ่ายทอดและแบ่งปันกัน ซึ่งไม่ต้องอธิบายความหมายอะไรมากมายทุกคนก็คงพอจะเข้าใจได้เอง..ลองอ่านดูนะครับ

"...หากโลกหรือสังคมไม่มีปัญหา Superman ก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่เดินอยู่ตามท้องถนน ไม่มีใครรู้จัก และไม่มีความสำคัญ..รอจนกว่าความเดือดร้อนที่แก้ไม่ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง..Superman ก็ปรากฏตัวขึ้นมา และแก้ปัญหาให้เรา...ฯลฯ "

นัยยะสำคัญ ก็คือ  Superman ไม่เคยมีในโลก...เป็นนิยายที่แต่งขึ้นเพื่อปลอบใจว่าเมื่อเดือดร้อนจะมีคนมาช่วยเรา  แต่ในความเป็นจริงแล้ว...ไม่มีใครจะมาช่วยพวกเราได้หรอกนอกจากตัวของพวกเราเอง...

"ที่ใดมีวีรบุรษ ที่นั่นบ้านเมืองเดือดร้อน"
เป็นบทหนึ่งที่ เล่าจื๊อ ปราชญ์จีนในยุคพุทธกาล เขียนไว้ในคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง ซึ่งอธิบายความได้ว่า

ทุกครั้งที่บ้านเมืองเดือดร้อน ถ้าบ้านเมืองจะรอด..จะเกิด"วีรบุรุษ" ขึ้น
ดังนั้น ทุกครั้งที่มีวีรบุรุษปรากกฏตัว ก็หมายความว่า..บ้านเมืองกำลัง "เดือดร้อน"
บ้านเมืองที่สงบและเป็นสุข ประชาชนยิ้มอยู่..จึงไม่มี "วีรบุรษ" ปรากฏขึ้น

"วีรบุรุษ"....จึงเป็นเครื่องหมายของสังคมที่เกิด..."ความเดือดร้อน"

(อ่านถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านลองนึกถึงคนเหล่านี้ดู อาทิ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ---> พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน --->พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ---> นายสมัคร สุนทรเวช---> นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ --->นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือแม้กระทั่ง นายวีระ สมความคิด ที่ถูกจับอยู่ในคุกเขมร ณ ปัจจุบันนี้ก็ตาม)

หากองค์กรหรือสังคมเกิดความต้องการ วีรบุรุษ..ขี่ม้าขาว อาจหมายถึงองค์กรหรือสังคมนั้น ขาดความสมบูรณ์ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
  • ....การเป็นสังคมที่มักง่าย
  • ....เป็นสังคมที่ไร้สภาวะผู้นำ
  • ....การเป็นสังคมที่ขาดปัญญา
  • ....การเป็นสังคมที่ขาดความสามัคคี
  • ....การเป็นสังคมที่ไม่พยายามช่วยตัวเอง
  • ....การเป็นสังคมที่วิเคราะห์แก้ปัญหาไม่เป็น
ท่านอนุมานว่า เราต้องไม่หวังพึ่งวีรบุรษมาแก้ปัญหาของเรา เราต้องเข้าใจและวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาของเราเอง เราต้องไม่มักง่ายและงอมืองอเท้า เพื่อให้คนอื่นมาแก้ปัญหาของเรา

"เราต้องไม่หวังว่าจะมี Superman มาแก้ปัญหาแทนเรา เพราะ Superman....ตายหมดแล้ว"

ที่ผมย่อความมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น และยังมีนิทานดีดี..ที่ท่านยอดเยี่ยมฯ ได้เขียนไว้ในบทความนี้อีก 3 เรื่อง ได้แก่ นิทานเรื่องที่ 7 หอยมุก, นิทานเรื่องที่ 6 ขบวนการสาบเสือ และนิทานเรื่องที่ 1 เรื่องของ "เห็ด"  ซึ่งผมจะค่อยๆ นำมาเขียนให้อ่านกันต่อไปครับ

ดูประวัติยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

ที่มา
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์.(2553). เล่านิทาน สร้างเมืองไทยให้น่าอยู่ : สร้างเมืองไทยให้น่าอยู่ใน 999 วัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน. (หน้า 139-140)

ตีพิมพ์ใน น.ส.พ.สู่ชนบท ปีที่ 22 ฉบับที่ 381 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2554 หน้า 3

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กองทุนครูของแผ่นดิน : เหตุเกิดที่ราชบุรี (ทำไมต้องมีการบังคับ)

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดกิจกรรมระดมทุนรับบริจาคเพื่อเป็นทุนประเดิมการจัดตั้ง "กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา" ซึ่งจะขอพระราชทานชื่อเป็น "กองทุนครูของแผ่นดิน"  โดยการขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน เผยแพร่ รณรงค์ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน รวมทั้งการระดมทุนเพื่อสมทบทุนกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยผู้ร่วมบริจาคสามารถนำเงินที่บริจาคหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้

ซึ่งการจัดตั้งกองทุนนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 52 ให้มีกองทุนในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และต่อมา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดกิจกรรม "ร่วมบริจาคเพื่อเป็นทุนประเดิม เพื่อจัดตั้ง กองทุนครูของแผ่นดิน" ผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ในระหว่างวันที่ 15-17 ม.ค.2554

การจัดตั้งกองทุนฯ นี้ แนวคิดก็เหมือนกับกองทุนฯ "สสส." แต่กองทุน สสส. เป็นกองทุนที่ซึ่งรัฐนำเงินจากภาษีในอัตราร้อยละ 2 จากผู้ผลิตนำเข้า สุราและยาสูบมาสมทบ  ซึ่งทำให้กองทุน "สสส" นี้เป็นกองทุนที่ยั่งยืน  แต่ "กองทุนครูของแผ่นดิน" นี้ ยังไม่รู้ว่าจะเอาเงินมาจากส่วนไหนดี ที่จะให้เป็นกองทุนที่ยั่งยืนอย่าง "สสส."  แต่ผมคิดว่ารัฐบาลคงมีแนวทางเหล่านี้เอาไว้แล้วละครับ... 

เจตนารมณ์สำคัญของการระดมทุนเพื่อจัดตั้ง "กองทุนครูของแผ่นดิน" ในครั้งนี้ อยู่ที่คำว่า
 "การบริจาคตามศรัทธา" 

แต่ทว่าที่ราชบุรีของผมมีเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น คือ
"ขอหักเงินเดือนจากคุณครูในโรงเรียนเพื่อสมทบกองทุน" 

บางโรงเรียนก็คนละ 100 บาท บางโรงเรียนก็คนละ 200 บาท  แถมบางโรงเรียนแต่ยังมีวลีนำหน้าเอาไว้ด้วย ว่า "ไม่ต่ำกว่า XXX บาท"  ผมไม่ทราบว่า ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการโรงเรียน   เหล่านี้  กำลังคิดอะไรอยู่  เริ่มแรกก็ผิดเจตนารมย์ของ ศธ. เสียแล้ว  หรือ คนเหล่านี้ต้องการยอดเงินบริจาคเพื่อหน้าตาของใครสักคน ก็ไม่ทราบได้....  

การบริจาคเงินสมทบกองทุนฯ ในครั้งนี้ "ครูบางคนก็อาจไม่คิดอะไรมาก" แต่ในความเห็นของผมแล้ว มันน่าจะเกิดจากความสมัครใจของคุณครูเอง มากกว่าการบังคับ ร่วมบริจาคตามกำลังทรัพย์กำลังศรัทธาที่มี ใครมีน้อย ก็บริจาคน้อย ใครมีมากก็บริจาคมาก ใครไม่มีก็ไม่เป็นไร  แต่นี้กลับกลายเป็นการกระทำเชิงบังคับครูเช่นนี้  ผมคิดว่า "ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง"

ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการโรงเรียน ใน จ.ราชบุรี ควรที่จะไปรณรงค์ เผยแพร่ ขอการสนับสนุน และระดมเงินจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน บริษัท ห้างร้าน สมาคม มูลนิธิ  และองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ จ.ราชบุรี ให้เห็นความสำคัญและช่วยเหลือสมทบกองทุนฯ ในครั้งนี้  มากกว่าวิธีคิดง่ายๆ คือการบังคับหักเงินเดือนครู ด้วยกันเอง...  

ผมไม่รู้ว่าการหักเงินครูเพื่อสมทบกองทุนฯ เป็น "ใบสั่งจากกระทรวงศึกษาธิการ" หรือเป็น "ใบสั่งจากผู้บริหารการศึกษาในราชบุรีด้วยกันเอง"

หากหัวหน้าครอบครัวบอกว่า จะหาเงินสักก้อนหนึ่งมาช่วยพัฒนาคนในครอบครัว...แต่กลับหักเงินจากคนในครอบครัวกันเอง..แล้วหัวหน้าครอบครัว...ก็เอาเงินไปถือไว้...และคนในครอบครัวที่ถูกหักเงินไป ก็ยังไม่รู้ว่า หัวหน้าครอบครัวจะเอาเงินไปทำอะไร...อย่างนี้ ศธ.ต้องอธิบายให้ชัดเจนครับ...

ผมไม่รู้ว่า  ครูในจังหวัดอื่นๆ ถูกหักเงินเดือนเช่นนี้หรือปล่าว...แต่ที่ราชบุรีมันกำลังจะเกิดขึ้นจริงๆ ครับ ในสิ้นเดือนนี้.... 

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

รางวัลของครู แด่ครูผู้เสียสละทุกคน..และแด่..ทุกคนที่มีครู


รางวัลของครู

ทุกคำบ่นว่า คือความปรารถนาดี
ใช้ความเมตตาปราณี คอยชี้หนทางเดินให้
ร้อยเหนื่อยพันหนัก กลั่นเป็นรักและห่วงใย
เพื่อทำหน้าที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนผู้ให้วิชา

ทุ่มเทเพื่อศิษย์ จากจิตวิญญาณของครู
แสงเทียนเพื่อการเรียนรู้ ยังสู้ยังส่องเรื่อยมา
ให้ศิษย์ถึงฝั่ง ด้วยแรงหวังแรงศรัทธา
เหนื่อยกายและใจ ทว่า เป็นสุขอยู่ทุกนาที

*ความภูมิใจมิได้อยู่ในพานไหว้ครู
แต่อยู่ในวันที่รู้ว่าศิษย์นั้นไปได้ดี
เรือจ้างลำแกร่ง ยังพายสุดแรงที่มี
พ่อพิมพ์แม่พิมพ์วันนี้ ยังพิมพ์คนดีสุดแรงทุกวัน

** ทุกคนคือศิษย์ ตลอดชีวิตของครู
ถ้อยคำชื่นชมเชิดชู ไม่ต้องให้ครูก็ได้
รู้ถูกรู้ผิด มีชีวิตที่สดใส
สื่งนั้นที่ครูฝันใฝ่ เพื่อเป็นแรงใจให้ครู

ซ้ำ *, **

รู้ถูก รู้ผิด มีชีวิตที่ก้าวไกล
เป็นคนที่ดีให้ได้ นั่นคือ "รางวัลให้ครู"

ขับร้องโดย : ธนพร แวกประยูร
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา : http://news.ksp.or.th/kru54/p_17_2.php